วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างไม้ดอกไม้ประดับ


ตัวอย่างไม้ดอกไม้ประดับ
1. บัว
     
พันธุ์ไม้น้ำที่ถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ผุดผ่องและคุณงามความดี และในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของมนุษย์กับการเจริญเติบโตของบัวเป็น 4 เหล่าคือ บัวในโคลนตม บัวใต้น้ำ และบัวเหนือน้ำ ดังนั้นบัวจึงเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่เหมือนเป็นตัวแทนของความสง่างาม ดอกมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม บางชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นชม พุทธศาสนิกชนนิยมนำมาบูชาพระ
 



2.
กุหลาบ
     
เป็นไม้ดอกที่มีความสวยงาม จนกระทั่งมีผู้ให้ฉายาว่า "ราชินีแห่งดอกไม้" ดังนั้นกุหลาบจึงเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้กุหลาบยังมีคุณสมบัติที่ดีเด่นอีกหลายประการ สามารถใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เช่น เป็นไม้กระถาง ไม้ตัดดอก ตกแต่งสถานที่ ตลอดจนใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับทำเป็นน้ำมันหอมระเหยและดอกไม้แห้งด้วย



3.
โป๊ยเซียน
    
ต้นไม้แห่งโชคลาภตามความเชื่อถือแต่โบราณ จัดเป็นไม้อวบน้ำอยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มาก พบได้ทั่วไปในประเทศเขตร้อนพืชในวงศ์นี้มีมากกว่า 300 สกุล โป๊ยเซียนจัดเป็นพืชที่อยู่ในสกุล Euphorbia ซึ่งในสกุลนี้มีไม่ต่ำกว่า 2,500 ชนิด ได้แก่ คริสต์มาส สลัดได ส้มเช้า หญ้ายาง และกระบองเพชรบางชนิด เป็นต้น




 



 4. ชวนชม
   เป็นพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงามสะดุดตามีรูปทรงของต้นและกิ่งก้านที่สวยงามและอ่อนช้อยนุ่มนวล เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งจนได้รับสมญาว่า Desest Rose หรือ "กุหลาบทะเลทราย" นอกจากนี้ชวนชมยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคลตามความเชื่อของคนไทย แม้แต่ชาวจีนซึ่งเรียกชวนชมว่า "ปู้กุ้ยฮวย" หรือ ดอกไม้แห่งความร่ำรวยก็ยังมีความหมายไปในทางศิริมงคลเช่นกัน



 
5. ขิงแดง
   เป็นพืชที่มีการปลูกประดับบ้านเรือนมานานแล้ว มีการดูแลรักษาง่าย สามารถเจริญเติบโต ได้ดีในสภาพดินทั่วไป ขยายพันธุ์ได้ด้วยหน่อ และให้ดอกตลอดปี ขิงแดงมีช่อดอกที่สวยงาม สามารถบานอยู่บนต้นไม้ได้นาน และมีรูปทรงของดอกที่แปลกกว่า ไม้ดอกชนิดอื่น ๆ ประกอบกับเมื่อนำมาปักแจกันพบว่ามีอายุในแจกันที่เหมาะสม ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ดังจะเห็นได้จากวิวัฒนาการจากการปลูกเป็นไม้ประดับบริเวณบ้าน มาเป็นการปลูกเพื่อตัดดอกเป็นการค้ามากขึ้น





6.
มะลิ
    
เป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมนปลายใบแหลมโคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกเป็นดอกเดี่ยวออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกตลอดไป มะลิเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกในดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือตอน

 






7.
ดาวเรือง
    
เป็นไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันดีชนิดหนึ่ง เนื่องจากปลูกง่าย โดเร็ว คงทนต่อสภาพแวดล้อม มีสีสันสดใส ดอกมีลักษณะกลมสวยงาม อายุการใช้งานนานประมาณ 7-10 วัน นอกจากนี้ ดาวเรืองยังเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 60-70 วัน ก็สามารถตัดจำหน่ายได้ รวมทั้งดาวเรืองยังเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีทุกสภาพพื้นที่และทุกฤดูกาลของประเทศและเป็นไม้ดอกสามารถทำรายได้กับผู้ปลูกสูง






 8. ทานตะวัน
 
เป็นดอกไม้สีเหลือง ดอกใหญ่กว่าดอกรักเร่เป็นที่สะดุดตามาก บางทีดอกจะใหญ่กว่าลำต้นด้วยซ้ำ นิยมปลูกเป็นแปลง เป็นไม้ที่ปลูกง่ายและโตเร็ว เมื่อออกดอกแล้วดอกจะหันไปทางทิศตะวันออกเพื่อรับแสงแดดอย่างเต็มที่ โดยไม่หันไปทางทิศอื่น จึงได้ชื่อว่า ดอกทานตะวัน

 
 9. โกสน
   จัดเป็นไม้ประเภทไม้พุ่ม มีตั้งแต่พุ่มขนาดเล็กจนถึงพุ่มขนาดใหญ่ โดยทั่วไปนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางเพื่อให้มีลักษณะเป็นพุ่มเล็ก ๆ แต่ถ้าปลูกลงดินและมีอายุหลายปีลำต้นสูงใหญ่เป็นพุ่มขนาดใหญ่ได้เช่นกัน จุดเด่นของโกสนคือเป็นไม้ที่มีใบแปลกไปจากไม้ชนิดอื่น ๆ มีรูปร่างลักษณะของใบแตกต่างกันออกไปหลากหลายรูปแบบ

 




 

 10. สาวน้อยประแป้ง
    
เป็นไม้ประดับอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงไว้ประดับอาคารบ้านเรือนและสำนักงานอย่างแพร่หลาย ไม่ต่างไปจากเขียวหมื่นปี ไม้ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศเมื่อมาถึงเมืองไทยก็กลายเป็นไม้มงคลที่ถูกตั้งชื่อให้มีความหมายไปในทางมงคล




 11. เขียวหมื่นปี
   เป็นไม้ประดับที่มีใบสวยงาม สีเขียวตลอดทั้งปี สามารถเจริญงอกงามได้แม้ในที่มีแสงสว่างเพียงเล็กน้อย จึงนิยมใช้ปลูกเลี้ยงประดับภายในอาคาร นอกจากนี้เขียวหมื่นปียังทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แห้งแล้งหรือความชื้นต่ำได้ดี เป็นพืชในวงศ์ Araceae สกุล Aglaonema มีถิ่นกำเนินกระจายอยู่ในประเทศเขตร้อนของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ จีน และแอฟริกา ไม้ในตระกูลนี้คนไทยส่วนใหญ่มักจะรู้จักกันในชื่อว่าว่านมงคลที่มีสรรพคุณต่าง ๆ กันตามความเชื่อถือ





12. บอนสี
    
เป็นไม้ประดับที่มีความสวยงาม โดยเฉพาะใบที่มีรูปทรงและสีสันสวยงามแปลกตาจนได้ชื่อว่า "ราชินีแห่งไม้ใบ" เป็นพืชในวงศ์ Araceae สกุล Caladium มีถิ่นกำเนิดแถวทวีปอเมริกาใต้และประเทศในเขตร้อนทั่วไป บอนสีเป็นไม้ประเภทล้มลุกที่มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน คล้ายหัวเผือกหรือมัน มีรากเป็นเส้นฝอยเล็ก ๆ แทงออกมาระหว่างหัวกับลำต้นและพักตัวอยู่ในฤดูหนาว โดยจะทิ้งใบจนหมดสิ้นและเริ่มผลิใบเจริญเติบโตอีกครั้งในฤดูฝน






                                             ที่มา   http://home.kapook.com/view54749.html

การดูแลไม้ดอกไม้ประดับ



การดูแลรักษาไม้ดอก
1. การให้น้ำ  เมื่อทำการปลูกใหม่ ๆ ควรรดน้ำให้วันละ 2 ครั้ง คือในตอนเช้าและตอนเย็น หรือตามความต้องการของพันธุ์ไม้ที่ปลูก เช่น บางวันลมแรง แดดจัด อากาศร้อน การคายน้ำย่อมมีมากอาจต้องมีการให้น้ำเพิ่มขึ้น สภาพของดินก็มีส่วนสำคัญต่อการให้น้ำ ดินบางชนิดอาจต้องรดน้ำบ่อย ๆ เนื่องจากดินไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ ดังนั้นผู้ปลูกจึงต้องเรียนรู้ถึงความ ต้องการน้ำของพืชที่ปลูกด้วยตัวเองในระยะแรกของการปลูกซึ่งจะทำให้ทราบว่าจะต้องให้น้ำวันละกี่ครั้ง หรือ กี่วันครั้ง
2. การพรวนดิน เพื่อกำจัดวัชพืชควรทำทุก 10 วัน ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น แปลงขนาด 4 X 4 เมตร อาจใช้เสียมมือ หรือ ส้อมพรวน ค่อย ๆ พรวนดินระหว่างแถวที่ปลูกพืช แต่ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ก็ควรใช้จอบพรวน การพรวนดินบริเวณที่มีรากฝอยจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างรากฝอยมากขึ้น แต่ต้องระวังอย่าไปตัดรากพืชโดยเฉพาะรากแก้ว เพราะจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตได้
3. การให้ปุ๋ย  ถึงแม้ว่าเวลาเตรียมดินจะมีการใส่ปุ๋ยลงในแปลงแล้วก็ตามแต่ก็ควรให้ปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารแก่พืชเพิ่ยง เร่งในส่วนที่เราต้องการ เช่น ปุ๋ยยูเรีย เพื่อเร่งการเจริญเติบโต


 

การดูแลรักษา ไม้ประดับ

-แสง ต้องการแสงแดดรำไร หรือปานกลาง
-น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน / ครั้ง
-ดิน ดินผสมพิเศษ กาบมะพร้าว
-ปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ผสมพิเศษ หรือปุ๋ยเคมี สูตร 10-10-10 5-10-5 อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก 
ละลายน้ำฉีดพ่นตาม ใบ ควรให้ 1 - 2 เดือน / ครั้ง


โรค โรคเน่าดำ (Black not disease)

อาการ ใบและลำต้นมีรอยเป็นสีดำ ต่อมาทำให้ใบเหี่ยวหลุดร่วง
การป้องกัน - อย่าให้น้ำแฉะเกินไป
- รักษาความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องมือปลูก
การรักษา ตัดหรือทำลายส่วนที่เป็นโรคทิ้ง หรือใช้ 8 ไฮดร๊อคซี่ควิโนลิ่น ซัลเฟต อัตราส่วนและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก


โรคเหี่ยว Fusarium wilt
อาการ ใบและลำต้น มีสีเหลืองซีด แห้ง บิดงอ 
การป้องกัน - อย่าให้น้ำแฉะหรือมากเกินไป
- รักษาความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องปลูก



 การป้องกัน




ใช้ยาคลอเดน 75% อัตราและคำแนะนำการใช้ระบุไว้ตามฉลากฉีดพ่น บริเวณใบและดอกขณะดอกยังตูม
การกำจัด ใช้ยานิโคตินซัลเฟต 40% อัตราและคำแนะนำการใช้ระบุไว้ตามฉลาก
การดูแลไม้ผลในสวน 
ที่สวนมีพื้นที่ขณะนี้เพียง 8ไร่ โดยประกอบด้วยมังคุด ลางสาด(ฃึ่งกำลังวางแผนจะเอาออกทั้งหมด) ลองกองปลูกใหม่ และมะนาวปลูกใหม่
โดยการจัดการหลักๆ แบ่งเป็นการกำจัดวัชพืช - การใส่ปุ๋ย - การเก็บเกี่ยว - การตัดแต่ง ขอพูดถึงหลักใหญ่ๆดังนี้ เนื่องจากเวลาในแต่ละวันหมดไปกับงานประจำ เลยมีเวลากับงานเกษตรเพียงเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดตามใจฉัน + วันลา + วันหยุดประเพณี เพียงเท่านี้ก็สามารถดูแลสวนเล็กๆที่ทำอยู่ได้

การตัดหญ้า
ตัดปีละ 4 ครั้ง คือต้นเดือน มกราคม / พฤษภาคม สิงหาคม และ ปลายเดือนตุลาคม
การใส่ปุ๋ย 
ใส่ 3 ช่วงดังนี้ หลังตัดหญ้าเดือนพฤษภาคม ใส่สูตร 8-24-24 / หลังตัดหญ้าเดือนสิงหาคม ใส่สูตร 13-13-21 / และต้นเดือนพฤศจิกายน ใส่สูตร 16-16-16 ครับ
การเก็บเกี่ยว


                            ที่มา  http://www.tonmai2u.com/tropic%20planting%20takecare1.html







ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาวมัณฑนา   ศรีนาค  
เลขที่ 24 ม.4/12  โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
ชื่อเล่น  เดือน
เกิดวันที่ 27 มกราคม 2541
สีที่ชอบ : สีฟ้า
Facebook : มัณฑนา  ศรีนาค
ID Line : duan_manthana

การจำแนกประเภทและแบ่งพันธุ์ไม้

 การจำแนกประเภทและแบ่งพันธุ์ไม้
        มีหลักพิจารณาและจำแนกต่างกัน แล้วแต่ความมุ่งหมายและความประสงค์ ซึ่งอาจแบ่งจำพวกพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ
        1. การแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามความมุ่งหมายที่ใช้ หมายถึง การแบ่งพันธุ์ไม้ตามความต้องการและมุ่งหมายที่จะนำมาใช้เพื่อประโยชน์ ดังนี้
        1) ไม้ตัดดอก (Cut flower plant)

         หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูก ณ สถานที่ที่มีภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม เช่น สายลม แสงแดด อุณหภูมิ ดิน น้ำ ความชื้นสัมพัทธ์ การคมนาคม และระยะทางที่เหมาะสม เพื่อตัดเฉพาะส่วนดอกหรือช่อดอก ไปใช้ประโยชน์ หรือจำหน่าย เช่น แกลดิโอลัส เบญจมาศ เยอร์บีรา หน้าวัว กุหลาบ ดาวเรือง คาร์เนชัน และบัวหลวง ไม้ดอกดังกล่าวนี้ จะถูกตัดออกจากต้นไปใช้ประโยชน์พร้อมทั้งก้านดอกด้วย ทั้งนี้เพราะก้านดอกเป็นแหล่งสะสมอาหาร เมื่อดอกถูกตัดจากต้นเพื่อนำไปปักแจกัน หรือจัดกระเช้า อาหารที่เก็บสะสมไว้ที่ก้านดอกจะถูกนำมาใช้ ช่วยให้ดอกไม้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ดังนั้นคุณลักษณะสำคัญของไม้ตัดดอก นอกจากดอกจะต้องสวยสดแล้ว ก้านดอกก็ต้องใหญ่ ยาว และแข็งแรง แต่ไม่เกะกะเก้งก้าง บรรจุหีบห่อได้ง่าย ขนส่งสะดวก มีน้ำหนักไม่มากนัก และเก็บรักษาได้นาน
         ยังมีไม้ดอกอีกหลายชนิดที่มีก้านดอกสั้น กลวงและเปราะหักง่ายแต่ดอกสวยหรือมีกลิ่นหอม อายุการใช้งานทนนาน สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีในวิถีชีวิตของคนไทย โดยการนำเฉพาะส่วนดอกไปร้อยมาลัย ทำอุบะ จัดพานพุ่ม หรือนำไปจัดแจกัน โดยใช้ก้านเทียมแทน เช่น รัก มะลิ พุด จำปี จำปา แวนดาโจคิม บานไม่รู้โรย

          2) ไม้ดอกกระถาง (Flowering pot plant)
          หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูกเลี้ยงในกระถางตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ดหรือย้ายต้นกล้า โดยการเปลี่ยนกระถางให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นลำดับให้เหมาะสมกับความสูงและการเจริญเติบโตของต้น เมื่อออกดอก จะนำไปใช้ประโยชน์ในการประดับทั้งต้นทั้งดอก พร้อมทั้งกระถาง ทำให้อายุการใช้งานทนนานกว่าไม้ตัดดอก เช่น บีโกเนีย แพนซี แอฟริกันไวโอเลต กล็อกซิเนีย อิมเพเชียน พิทูเนีย
           ไม้ดอกที่นำมาปลูกเป็นไม้กระถางจึงต้องมีทรงพุ่มต้นกะทัดรัด ไม่เกะกะเก้งก้าง หรือมีต้นสูงใหญ่ เกินกว่าที่จะนำมาปลูกเลี้ยงได้ในกระถางขนาดเล็กพอประมาณเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ที่สำคัญคือควรจะออกดอกบานพร้อมเพรียงกันเกือบทั้งต้น เพื่อความสวยงามในการใช้ประดับ ปัจจุบันวิทยาการเจริญก้าวหน้าอย่างมาก มนุษย์สามารถปลูกเลี้ยงไม้ดอกหลายๆ ชนิดในกระถางขนาดเล็ก แม้จะมีขนาดต้นสูงใหญ่ โดยการใช้สารเคมีที่เรียกว่า สารชะลอการเจริญเติบโต ราดหรือพ่น เพื่อทำให้ไม้ดอกเหล่านั้น มีขนาดต้นเตี้ยลงตามความต้องการ ตลอดจนใช้เทคนิคบางประการในระหว่างการปลูกเลี้ยง เพื่อบังคับให้ไม้ดอกออกดอกพร้อมเพรียงกันทั้งต้นได้ โดยคงจำนวน ขนาด และสี ตลอดจนความสวยงามของดอก ให้ใกล้เคียงกับของเดิมทุกประการ

          3) ไม้ดอกประดับแปลง (Bedding plant)
          หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูกลงแปลง ณ บริเวณที่ต้องการปลูกตกแต่ง เพื่อประดับบ้านเรือน อาคารสถานที่ ตลอดจนสวนสาธารณะ โดยไม่ตัดดอกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปใช้ประโยชน์ แต่ปล่อยให้ออกดอกบานสะพรั่งสวยงาม ติดอยู่กับต้นภายในแปลงปลูก เพื่อประโยชน์ในการประดับ จนกว่าจะร่วงโรยไป
 

 2.  การแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามลักษณะนิสัยของพันธุ์ไม้ เช่น การแบ่งตามถิ่นกำเนิด แบ่งตามอายุความเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ ตามลักษณะเนื้อไม้ ตามสิ่งแวดล้อม และตามลักษณะของลำต้น

3.  การแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามหลักพฤกษศาสตร์ มีความมุ่งหมายเพื่อจำแนกพันธุ์ไม้ทั่ว ๆ ไปให้แน่ชัดในรูปร่าง ลักษณะนิสัยการดำรงชีพ และการสืบพันธุ์ ของพันธุ์ไม้ให้อยู่เป็นกลุ่มที่แน่นอน ไม่ปะปนกัน




                                                                                                ที่มา    http://home.kapook.com/view54749.html

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอกไม้ประดับ

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอกไม้ประดับ

            1.  ดิน เป็นปัจจัยที่สำคัญอันดับแรกเพราะดินจะช่วยพยุงลำต้น เป็นแหล่งให้น้ำให้อากาศตลอดจนแร่ธาตุต่าง ๆ ดินที่อุดมสมบูรณ์พืชก็จะเจริญเติบโตได้ดี

            2.  ความชุ่มชื้นหรือน้ำ หมายถึง ความชุ่มชื้นที่อยู่ในดิน และความชุ่มชื้นที่อยู่ในอากาศ ดินที่อุดมสมบูรณ์มีธาตุอากาศ หากขาดน้ำในดินรากก็ไม่สามารถดูดไปใช้ได้ ความชุ่มชื้นในอากาศมีความจำเป็นต่อต้นไม้เพราะจะช่วยให้ต้นไม้สดชื่นอยู่เสมอ

            3.  แสงสว่าง มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นพืชนับตั้งแต่เมล็ดเริ่มงอก การสร้างฮอร์โมนในพืช การสร้างเม็ดสี ตลอดจนการออกดอกผลและอื่น ๆ พืชบางชนิดจะออกดอกเมื่อได้รับแสงสว่างเพียงพอ

            4.  อุณหภูมิ เป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต คุณภาพของดอกและปริมาณดอก

            5.  ปุ๋ย การเจริญเติบโตของพืชต้องการอาหารธาตุ ในการเจริญเติบโตจะได้รับอาหารธาตุเหล่านั้นจากดิน น้ำและอากาศ ในปัจจุบันธาตุในดินไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อปรุงดินให้มีธาตุตามที่พืชต้องการ

            6.  โรคและแมลง โรคที่เกิดกับพืชมีทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรีย ส่วนแมลงนั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น เพลี้ย หนอนต่าง ๆ เป็นต้น การฉีดยาป้องกันโรคและแมลงก่อนจะช่วยให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี

            7.  การตัดแต่ง จะมีผลต่อการเจริญเติบโต แตกกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ ซึ่งจะช่วยในการกำหนดรูปร่างรูปทรงของพืชนั้น รวมทั้งการตัดกิ่งที่ไม่ต้องการออกด้วย

            8.  ตำแหน่งที่ปลูก มีผลต่อการเจริญเติบโตอีกประการหนึ่ง การเรียนรู้ลักษณะนิสัยของพืชนั้น ๆ จะทำใหสามารถเลือกสถานที่ที่จะปลูกพืชได้เหมาะสมเพื่อให้มีการเจริญเติบโตได้ดี


                                                                                                          ที่มา    http://home.kapook.com/view54749.html

 

ประเภทของไม้ดอกไม้ประดับ

          ประเภทของไม้ดอกไม้ประดับ
          1. แบ่งตามความต้องการแสงในการเจริญเติบโตสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1.1 พืชในร่ม  (indoor plants)  เป็นพืชที่ต้องการความเข้มของแสงต่ำ  ควรปลูกในที่ร่ม มี
แสงรำไร จะทำให้พืชมีการสังเคราะห์แสงดี อย่าให้ถูกแดดจัด  เพราะจะทำให้ใบไหม้และตายได้ เช่น เฟิร์นต่าง ๆ สาวน้อยประแป้ง  บอนสี เป็นต้น
1.2  พืชกลางแจ้ง (Outdoor plants)  เป็นพืชที่ต้องการความเข้มของแสงสูง จึงจะทำให้
ขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชทำได้ดี  พืชประเภทนี้จึงต้องปลูกกลางแจ้ง ถูกแดดจัดตลอดทั้งวัน เช่น กุหลาบ เข็ม ยี่โถ ดาวเรือง ดาวกระจาย ชวนชม เฟื่องฟ้า เป็นต้น
2. แบ่งตามลักษณะรูปทรงของลำต้น ใบ ได้แก่พรรณไม้ที่มุ่งเน้นความสวยงามที่รูปทรงของ
ลำต้น พุ่ม ใบ แบ่งได้ดังนี้
            2.1. ไม้ยืนต้น (Tree)  ส่วนมากเป็นพรรณไม้ที่ต้องขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีอายุยืนนานหลายปี มีดังนี้
            (1) ไม้ยืนต้นใบเลี้ยงคู่  ได้แก่  ไม้ให้ร่มเงา เช่น ประดู่แดง ประดู่บ้าน จามจุรี ทองกวาว คูณ นนทรีย์ ตะแบก เสลา พิกุล ลั่นทม ไทร ชงโค ฯลฯ  และไม้ยืนต้นที่มีลักษณะพิเศษของลำต้น ใบ หรือทรงพุ่มสวยงาม เช่น เฟื่องฟ้าตอ โมกตอ ไม้ดัดไม้แคระ ซองออฟอินเดีย ฯลฯ
            (2)  ไม้ยืนต้นใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น จันทน์ผา ปาล์มชนิดต่าง ๆ (จั๋ง อินทผลัม ปาล์มน้ำมัน ตาล หมากเขียว หมกเหลือง หมากนวล ฯลฯ)
            2. 2 ไม้พุ่ม  (Shrub)   เป็นพรรณไม้ที่ส่วนมากจะขยายพันธุ์โดยวิธีการตอน   หรือ   ตัดชำ   ปลูกแล้ สามารถบังคับพุ่มได้    มี   2   กลุ่ม ดังนี้
            (1) ชนิดตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้  เช่น หูปลาช่อน ชบาด่าง นีออน ลิ้นกระบือ เข็มเชียงใหม่ เข็มพิษณุโลก บานบุรีพุ่ม ฯลฯ
            (2) ชนิดซอยบังคับทรงพุ่ม จะใช้กับพรรณไม้ที่ต้องการให้ออกดอก  และต้องการควบคุมความสูงของทรงพุ่ม เช่น เฟื่องฟ้า เข็มปัตตาเวีย เข็มมาเลเซีย เล็บครุฑ โกสน ฯลฯ
             2.3 ไม้กอ  เป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการแยกหัว หน่อหรือเหง้า ได้แก่ ขิงแดง ข่าด่าง รางทอง เขียวหมื่นปี กล้วยกำมะหยี่ เสน่ห์ขุนแผน กาเหว่าลาย หนวดปลาดุก ม้าเวียน เศรษฐีไซ่ง่อน กำแพงเงิน กาบหอย สัปปะรดสี ฯลฯ
             2.4 ไม้คลุมดิน เป็นพืชที่มีลำต้นสั้นหรือลำต้นมีลักษณะเลื้อยยาวแผ่คลุมดินได้ดี เช่น มันเทศด่าง ผกากรองเลื้อย
            3. แบ่งตามความสวยงามหรือการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของพรรณไม้ แบ่งได้ดังนี้
                3.1  พืชพรรณที่มีโคนต้นหรือรากสวยงาม เช่น ไทร โพธิ์ ชวนขม หมากเล็กหมากน้อย สนเลื้อย ฯลฯ
                3.2 พืชพรรณที่มีลำต้นแปลกสวยงาม เช่น ไม้ดัดไม้แคระ ปาล์มชนิดต่าง ๆ  ฯลฯ




                                                                                                   ที่มา   http://www.oknation.net/blog/print.php?id=79580