วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความหมายภาษาซี

           ภาษาซี (C Programming Language)  คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมทั่วไป ถูกพัฒนาครั้งแรกเพื่อใช้เป็นภาษาสำหรับพัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ( Unix Opearating System) แทนภาษาแอสเซมบลี ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สามารถกระทำในระบบฮาร์ดแวร์ได้ด้วยความรวดเร็ว แต่จุดอ่อนของภาษาแอซเซมบลีก็คือความยุ่งยากในการโปรแกรม ความเป็นเฉพาะตัว และความแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง เดนนิส ริตชี (Dennis Ritchie) จึงได้คิดค้นพัฒนาภาษาใหม่นี้ขึ้นมาเมื่อประมาณต้นปี ค.ศ. 1970 โดยการรวบรวมเอาจุดเด่นของแต่ละภาษาระดับสูงผนวกเข้ากับภาษาระดับต่ำ เรียกชื่อว่า ภาษาซี คลิปลับ VDO งานเสริมทำออนไลด์ผ่าน net สร้างรายได้ 5 หมื่น บ/ด
          เมื่อภาษาซี ได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีผู้ผลิต compiler ภาษาซีออกมาแข่งขันกันมากมาย ทำให้เริ่มมีการใส่ลูกเล่นต่างๆ เพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ ทาง American National Standard Institute (ANSI) จึงตั้งข้อกำหนดมาตรฐานของภาษาซีขึ้น เรียกว่า ANSI C เพื่อคงมาตรฐานของภาษาไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไป
โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี และตัวอย่าง
          โปรแกรมในภาษาซีทุกโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ชันอย่างน้อย หนึ่งฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชัน main โดยโปรแกรมภาษาซีจะเริ่มทำงานที่ฟังก์ชัน main ก่อน ในแต่ละฟังก์ชันจะประกอบด้วย
          1. Function Heading ประกอบด้วยชื่อฟังก์ชัน และอาจมีรายการของ argument (บางคนเรียก parameter) อยู่ในวงเล็บ
          2. Variable Declaration ส่วนประกาศตัวแปร สำหรับภาษาซี ตัวแปรหรือค่าคงที่ทุกตัว ที่ใช้ในโปรแกรมจะต้องมีการประกาศก่อนว่าจะใช้งานอย่างไร จะเก็บค่าในรูปแบบใดเช่น interger หรือ real number
          3. Compound Statements ส่วนของประโยคคำสั่งต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นประโยคเชิงซ้อน (compound statement) กับ ประโยคนิพจน์ (expression statment) โดยประโยคเชิงซ้อนจะอยู่ภายในวงเล็บปีกกาคู่หนึ่ง { และ } โดยในหนึ่งประโยคเชิงซ้อน จะมีประโยคนิพจน์ที่แยกจากกันด้วยเครื่องหมาย semicolon (;) หลายๆ ประโยครวมกัน และ อาจมีวงเล็บปีกกาใส่ประโยคเชิงซ้อนย่อยเข้าไปอีกได้



ที่มา http://guru.sanook.com/6394/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2c/

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

คำสงวนและฟังก์ชันในภาษาซี


คำสงวนในภาษา C
คำสงวนคือคำที่กำหนดขึ้นในภาษาซีเพื่อให้มีความหมายอย่างใด อย่างหนึ่ง และนำไปใช้งานแตกต่างกัน การประกาศค่าตัวแปรจะต้องไม่ให้ซ้ำกับคำสงวน
AutoBreakCaseCharConst
DefaultDoDoubleElseEnum
ShortSignedSizeofExternFloat
ForGotoIfIntLong
ReturnRegisterContinueWhileStatic
StructSwitchTypedefUnonUnsigned
Voidvolatile
ฟังก์ชั่น  (Function)
ฟังก์ชัน clrscr(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการลบจอภาพ
ฟังก์ชัน printf(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลที่อยู่ในตัวแปร ค่าคงที่ และนิพจน์ออกจอภาพ
ตัวอย่างที่ 1printf(“Lampang”);   ความหมาย แสดงข้อความ Lampang ออกทางจอภาพ
ตัวอย่างที่ 2printf(“%d”,num);     ความหมาย แสดงค่าตัวแปร num ในรูปเลขจำนวนเต็ม
ตัวอย่างที่ 3printf(“5.2f”,area);   ความหมาย แสดงค่าที่เก็บอยู่ในตัวแปร area โดยจองพื้นที่ไว้ 5 ช่อง
ทศนิยม 2 ตำแหน่ง
ฟังก์ชัน scanf(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร
ตัวอย่างscanf(“%d”,&num);   ความหมาย รับค่าตัวเลขจำนวนเต็มแล้วนำมาเก็บไว้ในตัวแปร num
ฟังก์ชัน getch();  เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรอรับการกดแป้นพิมพ์หนึ่งครั้ง โดยไม่ต้องกดปุ่ม Enter
และตัวอักษรที่ป้อนเข้ามาจะไม่ปรากฏบนจอภาพ
ฟังก์ชัน getchar(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลเข้ามาทางแป้นพิมพ์ทีละ 1 ตัวอักษร แล้วกด Enter 1 ครั้ง
ข้อมูลที่ป้อนจะแสดงบนจอภาพ
ฟังก์ชัน gets();  เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลที่เป็นข้อความจากแป้นพิมพ์เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปรแบบอาเรย์
การใช้ฟังก์ชัน gets(); จะต้องมีการประกาศตัวแปรแบบอาเรย์ และกำหนดจำนวนตัวอักษรที่ต้องการป้อน
โดยคอมพิวเตอร์จะจองพื้นที่ไว้ตามจำนวนตัวอักษร แต่จะป้อนได้น้อยกว่าที่จองไว้ 1 ตัว เพื่อให้ตัวแปรเก็บ 0
อีก 1 ตัว
ฟังก์ชัน textcolor();  เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการกำหนดสีตัวอักษร โดยจะต้องใช้ร่วมกับฟังก์ชัน cprintf ซึ่งมีสีต่างๆ ให้เลือก
ตัวเลขค่าสีอาจจะพิมพ์เป็นตัวเลขหรือชื่อสีเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ก็ได้
ตัวอย่างที่ 1textcolor(4);
cprintf(“Lampang”);
ความหมาย แสดงข้อความ Lampang เป็นสีแดง
ตัวอย่างที่ 2textcolor(MAGENTA);
cprintf(“BANGKOK”);
ความหมาย แสดงข้อความ BANGKOK เป็นสีม่วง
ตัวเลขค่าสีสีที่ปรากฏ
0(BLACK) ดำ
1(BLUE) น้ำเงิน
2(GREEN) เขียว
3(CYAN) ฟ้า
4(RED) แดง
5(MAGENTA) ม่วง
6(BROWN) น้ำตาล
7(LIGHTGRAY) เทาสว่าง
8(DARKGRAY) เทาดำ
9(LIGHTBLUE) น้ำเงินสว่าง
10(LIGHTGREEN) เขียวสว่าง
11(LIGHTCYAN) ฟ้าสว่าง
12(LIGHTRED) แดงสว่าง
13(LIGHTMAGENTA) ม่วงสว่าง
14(YELLOW) เหลือง
15(WHITE) ขาว
ฟังก์ชัน cprintf(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการพิมพ์ข้อความเหมือนฟังก์ชัน printf แต่จะแสดงเป็นสีต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในฟังก์ชัน                           textcolor การใช้ฟังก์ชัน cprintf ต้องกำหนดสีของตัวอักษรใน ฟังก์ชัน textcolor ก่อน
ตัวอย่างที่ 1textcolor(5);
printf(“Lampang”);   ความหมาย แสดงข้อความ Lampang ออกทางจอภาพ
ตัวอย่างที่ 2textcolor(15);
printf(“%d”,num);     ความหมาย แสดงค่าตัวแปร num ในรูปเลขจำนวนเต็ม
ตัวอย่างที่ 3textcolor(7);
printf(“5.2f”,area);   ความหมาย แสดงค่าที่เก็บอยู่ในตัวแปร area โดยจองพื้นที่ไว้ 5 ช่อง
ทศนิยม 2 ตำแหน่ง
ฟังก์ชัน textbackground(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการกำหนดสีพื้นให้กับตัวอักษร
ตัวอย่างtextbackground(14)ความหมาย กำหนดสีพื้นเป็นสีเหลือง




                                                                                                          ที่มา  http://kruaum.wordpress.com
                                                                                   

โครงสร้างภาษาซี


      โปรแกรมภาษาซีมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม และไฟล์โปรแกรม ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรมเป็นไฟล์ที่ใช้เก็บไลบราลีเพื่อใช้รวม (include) ในการคอมไพล์โปรแกรมซึ่งจะมีส่วนขยายเป็น *.h มีชื่อเรียกว่า Compiler Directive ไฟล์โปรแกรมจะเริ่มต้นด้วยฟังก์ชัน main() และตามด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด เพื่อเริ่มต้นเขียนโปรแกรม การเขียนโปรแกรมจะต้องเขียนด้วยอักษาภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กเสอม และเมื่อจบประโยคคำสั่ง จะใช้เครื่องหมายเซมิโคล่อน ( ; ) ในการคั่นแต่ละคำสั่ง ภายในโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ขันและส่วนของคำอธิบาย เมื่อเขียนคำสั่งเสร็จจะปิดท้ายโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาปิดเสมอ
แสดงโครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี
#include<library>/* ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม*/
void main(void)/*ฟังก์ชันหลักของโปรแกรม*/
{/*เริ่มต้นการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด*/
variable declaration;/*การประกาศค่าตัวแปรที่ใช้ในโปรแกรม*/
program statement;/*ประโยคคำสั่งในโปรแกรม*/
}/*จบการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาปิด*/
#include<library>เป็นส่วนหัวหัว โปรแกรมที่จะต้องเขียนไว้เพื่อให้ใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ในกรณีที่ต้องการทราบว่าฟังก์ชันใดถูกนิยามไว้ที่ใดให้ทำแถบสีที่ฟังก์ชัน ดังกล่าวและกดปุ่ม Ctrl+f1
mainเป็นฟังก์ชันหลักของโปรแกรม
( )ภายในวงเล็บเป็นค่าพารามิเตอร์ที่จะส่งผ่านไปทำงานยังฟังก์ชันอื่นๆ ถ้าไม่มีการ
ใส่ค่าแสดงว่าไม่ต้องการมีค่าพารามิเตอร์
{ปีกกาเปิดแสดงการเริ่มต้นการเขียนโปรแกรม
variable declarationsประกาศตัวแปร
program statementการเขียนประโยคคำสั่ง
}ปีกกาปิดแสดงการจบการเขียนโปรแกรม
/*ข้อความ*/คำอธิบายโปรแกรม ใช้ในการอธิบายความหมายของคำสั่งหรือสิ่งที่ต้องการเขียน
ไว้กันลืมจะไม่มีผลใดๆกับโปรแกรม แต่การเขียนจะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย /*
ตัวแปร (variable)  คือชื่อที่ผู้เขียนโปรแกรมตั้งขึ้น เพื่อใช้เก็บค่าที่ต้องการนำมาใช้งานในการเขียนโปรแกรม เพื่อทำการประมวลผลข้อมูล โดยมีกฏในการตั้งชื่อตัวแปรดังนี้
1.ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ตัวต่อไปอาจจะเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้
2.ห้ามใช้สัญลักษณ์อื่นใด ยกเว้นเครื่องหมายสตริงก์ ($) และขีดล่าง (Underscore)
3.ตัวแปรอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่มีความหมายแตกต่างกัน
4.ห้ามเว้นวรรคระหว่างตัวแปร
5.ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวนในภาษาซ
ก่อนที่จะนำตัวแปรไปใช้งาน ในภาษาซีจะต้องมีการประกาศค่าตัวแปรให้สอดคล้องกับข้อมูลที่จะนำไปใช้โดยมีรูปแบบดังนี้
รูปแบบType varible name
typeชนิดของตัวแปร ซึ่งอาจจะป็น char, int, float, double หรือตัวแปรชนิดอื่นๆ เป็นต้น
variable nameชื่อของตัวแปร ถ้ามีมากกว่า 1 ตัวให้ใช้เครื่องหมายคอมม่าคั่น
ตัวอย่างการประกาศตัวแปร
char n;ประกาศค่าตัวแปรชื่อ n เป็นข้อมูลชนิด character
float a,b,c;ประกาศค่าตัวแปรชื่อ a,b,c เป็นข้อมูลชนิด float
int number=1;ประกาศค่าตัวแปรชื่อ number เป็นข้อมูลชนิด integer และกำหนดให้ตัวแปร count มีค่าเท่ากับ 1
char name[15];ประกาศตัวแปรชื่อ name เป็นลักษณะตัวแปรชุดเก็บชื่อยาวไม่เกิน 15 ตัวอักษร
    

                                                                                         
                                                              ที่มา   http://kruaum.wordpress.com


กำเนิดภาษาซี

    

  
    ด้วยศักยภาพและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ที่แพรหลาย จึงทำให้มีผู้คิดค้นพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาซีขึ้น   คือ นายเดนนิส ริทชี่ (Dennis Ritchie) ที่ศูนย์วิจัยเบล (Bell Laboratories) ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1972    และเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการยูนิกส์ ซึ่งใช้กันแพร่หลายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน     ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาระดับต่ำ (Low-Level Language) จึงทำให้นักพัฒนาโปรแกรมสามารถ   ที่จะกำหนดรายละเอียดของโปรแกรมให้เข้าถึงการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ให้มากที่สุดเพื่อให้เกิดความเร็ว  ในการทำงานสูงสุด และในขณะเดียวกันภาษาซีก็ยังมีความเป็นภาษาระดับสูง (High-Level Language) ทำให้ผู้พัฒนา   สามารถที่จะพัฒนาโปรแกรมได้ โดยเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ต้องการได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ใด ๆ
    

    ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นาย Bjarne Stroustrup นักวิจัยและพัฒนาของศูนย์วิจัยเบล (Bell Laboratiories) ได้พัฒนาภาษา C++ (ซีพลัสพลัส) ขึ้นมา โดยที่ภาษา C++  มีความสามารถในการทำงานได้ทุกอย่างเหมือนกับภาษาซี ซึ่งมีรูปแบบและโครงสร้างของภาษาใกล้เคียงกัน แต่ภาษา   C++ ใช้หลักการออกแบบโปแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Design) ในขณะที่ภาษาซีใช้หลักการออกแบบโปรแกรม แบบโมดูลาร์ (Modular Design) 




โปรแกรมโครงสร้าง

 ประกอบด้วยหลักการ 3 ประการ
        1. การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุดคือ เขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์


        2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision or Selection) การตัดสินใจ หรือเลือกเงื่อนไขคือ เขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว



        3. การทำซ้ำ(Repeation or Loop) การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการด้วยตนเอง 



ประโยชน์ของผังงาน
        1. ทำให้เข้าใจ และแยกแยะปัญหาได้ง่าย (Problem Define) 
        2. แสดงลำดับการทำงาน (Step Flowing) 
        3. หาข้อผิดพลาดได้ง่าย (Easy to Debug) 
        4. ทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่าย (Easy to Read) 
        5. ไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง (Flexible Language




  

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ผังงาน

ผังงานมี 2 ชนิด คือ
        1. ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้าง ๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย
        2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์


สัญลักษณ์ของผังงาน




ที่มา  http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340204758/lean7.html

หลักพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม


หลักพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม
       การเขียนโปรแกรมภาษามีขั้นตอนการทำงานที่เรียกว่า  วงจรพัฒนาโปรแกรม  โดยใช้ผังงานช่วยในการออกแบบโปรแกรม  เพื่อให้โปรแกรมภาษาที่พัฒนานั้นสามารถแก้ปัญหาหรือส่งเสริมการทำงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

   
วงจรพัฒนาโปรแกรม
                 วงจรพัฒนาโปรแกรมมีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างโปรแกรมภาษาสำหรับแก้ปัญหาและส่งเสริมการทำงานในระบบงานหนึ่ง ๆ  แบ่งเป็น  5  ขั้นตอน  ดังนี้

    1. การวิเคราะห์ปัญหา  (Analyze  the  Problem)  เป็นขั้นตอนการศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและค้นหาสิ่งที่ต้องการเพื่อพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

        Input            คือ  ข้อมูลที่จะนำเข้าสู่คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง 

        Process     คือ  วิธีการประมวลผลข้อมูลที่นำเข้าเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร

        Output        คือ  การแสดงผลลัพธ์ที่ได้คืออะไร  และมีรูปแบบเป็นอย่างไร
 
    ตัวอย่างเช่น  เมื่อเราต้องการสร้างโปรแกรมที่มีการนำตัวเลขเข้ามา  5  ตัว  และให้แสดงผลเป็นค่าเฉลี่ยบนหน้าจอภาพ

        Input           คือ  ตัวเลข  5  ตัว  เช่น  2, 5, 3, 4, 1

        Process     คือ  คำนวณหาค่าเฉลี่ย  เช่น ( 2 + 5 + 3 + 4 + 1)/5

        Output        คือ  แสดงค่าเฉลี่ยผ่านทางหน้าจอภาพ  เช่น  3

    2.  การออกแบบโปรแกรม  (Design  a  Program)  เป็นขั้นตอนการใช้เครื่องมือต่างๆ  ออกแบบลำดับขั้นการทำงานของโปรแกรม  เพื่อให้เห็นทิศทางหรือการทำงานโดยรวมของโปรแกรม  ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรม  เช่น  รหัสจำลอง  (Pseudo  Code)  และผังงาน

    3.  การเขียนโค้ด  (Coding)  เป็นขั้นตอนการสร้างโปรแกรมผ่านการเขียนโค้ด  การคอมไพล์และการทดลองใช้โปรแกรมและการทดลองใช้โปรแกรม  โดยการเขียนโค้ดจะต้องปฏิบัติตามที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นตอนการออกแบบโปรแกรม  ซึ่งผู้สร้างโปรแกรมภาษาจะต้องเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการทำงานของโปรแกรม  เนื่องจากภาษาคอมพิวเตอร์แต่ละภาษาจะเหมาะสมกับการเขียนโปรแกรมภาษาที่ไม่เหมือนกัน    
   ตัวอย่างเช่น

                 1. ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาเครื่องจัดเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาเดียวที่สามารถ ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะว่าการเขียนคำสั่งและข้อมูลในภาษาเครื่องใช้ระบบเลขฐานสอง (binary number system) คือใช้ตัวเลข 0 และ 1 เท่านั้น

                2. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) เป็นภาษาที่เขียนตามลักษณะการทำงานของเครื่อง ดังนั้น ผู้ที่ใช้ภาษาเหล่านี้จำเป็ นต้องเข้าใจการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดีภาษาเหล่านี้ ซึ่งจะมีคำสั่งคล้ายกับ ภาษาเครื่องเป็นอย่างมาก ได้แก่  ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)โดยมีแอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลี คือเปลี่ยนภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง
    3. ภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ง่าย มีลักษณะของการใช้ คำสั่งเป็ นภาษาอังกฤษซึ่งใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องมีการแปล ความหมายของคำสั่งโดยใช้ตัวแปลภาษาทีละชุดคำสั่งที่เรียกว่า อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) หรือแปลครั้ง เดียวทั้งโปรแกรมที่เรียกว่า คอมไพเลอร์(Compile)ได้แก่ ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาฟอร์เทรน (FORTRAN) ภาษาซี (C) เป็นต้น
                4. ภาษาระดับสูงมาก (Very High-Level Language) เป็นภาษาที่มีลักษณะสำคัญคือผู้เขียนโปรแกรม ไม่ต้องบอกวิธีการทำงานโดยละเอียดเพียงแต่ระบุคำสั่งให้ทำงานสั้นๆให้ภาษาระดับสูงมากเข้าใจก็เพียงพอ
                5. ภาษาธรรมชาติ (Nature Language) จะเกี่ยวข้องกับระบบฐานความรู้ และกฎอ้างอิง เพียงแต่ผู้ใช้ ภาษาธรรมชาติป้อนคำถามผ่านเข้าไปในคอมพิวเตอร์ที่มีภาษาธรรมชาติก็จะทำการวิเคราะห์คำถามแล้วไป ค้นหาคำตอบจากระบบฐานความรู้ที่เก็บไว้ 



                                                                  ที่มา https://sites.google.com/a/mns.ac.th/kru-nantawan/home