วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

หลักพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม


หลักพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม
       การเขียนโปรแกรมภาษามีขั้นตอนการทำงานที่เรียกว่า  วงจรพัฒนาโปรแกรม  โดยใช้ผังงานช่วยในการออกแบบโปรแกรม  เพื่อให้โปรแกรมภาษาที่พัฒนานั้นสามารถแก้ปัญหาหรือส่งเสริมการทำงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

   
วงจรพัฒนาโปรแกรม
                 วงจรพัฒนาโปรแกรมมีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างโปรแกรมภาษาสำหรับแก้ปัญหาและส่งเสริมการทำงานในระบบงานหนึ่ง ๆ  แบ่งเป็น  5  ขั้นตอน  ดังนี้

    1. การวิเคราะห์ปัญหา  (Analyze  the  Problem)  เป็นขั้นตอนการศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและค้นหาสิ่งที่ต้องการเพื่อพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

        Input            คือ  ข้อมูลที่จะนำเข้าสู่คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง 

        Process     คือ  วิธีการประมวลผลข้อมูลที่นำเข้าเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร

        Output        คือ  การแสดงผลลัพธ์ที่ได้คืออะไร  และมีรูปแบบเป็นอย่างไร
 
    ตัวอย่างเช่น  เมื่อเราต้องการสร้างโปรแกรมที่มีการนำตัวเลขเข้ามา  5  ตัว  และให้แสดงผลเป็นค่าเฉลี่ยบนหน้าจอภาพ

        Input           คือ  ตัวเลข  5  ตัว  เช่น  2, 5, 3, 4, 1

        Process     คือ  คำนวณหาค่าเฉลี่ย  เช่น ( 2 + 5 + 3 + 4 + 1)/5

        Output        คือ  แสดงค่าเฉลี่ยผ่านทางหน้าจอภาพ  เช่น  3

    2.  การออกแบบโปรแกรม  (Design  a  Program)  เป็นขั้นตอนการใช้เครื่องมือต่างๆ  ออกแบบลำดับขั้นการทำงานของโปรแกรม  เพื่อให้เห็นทิศทางหรือการทำงานโดยรวมของโปรแกรม  ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรม  เช่น  รหัสจำลอง  (Pseudo  Code)  และผังงาน

    3.  การเขียนโค้ด  (Coding)  เป็นขั้นตอนการสร้างโปรแกรมผ่านการเขียนโค้ด  การคอมไพล์และการทดลองใช้โปรแกรมและการทดลองใช้โปรแกรม  โดยการเขียนโค้ดจะต้องปฏิบัติตามที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นตอนการออกแบบโปรแกรม  ซึ่งผู้สร้างโปรแกรมภาษาจะต้องเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการทำงานของโปรแกรม  เนื่องจากภาษาคอมพิวเตอร์แต่ละภาษาจะเหมาะสมกับการเขียนโปรแกรมภาษาที่ไม่เหมือนกัน    
   ตัวอย่างเช่น

                 1. ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาเครื่องจัดเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาเดียวที่สามารถ ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะว่าการเขียนคำสั่งและข้อมูลในภาษาเครื่องใช้ระบบเลขฐานสอง (binary number system) คือใช้ตัวเลข 0 และ 1 เท่านั้น

                2. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) เป็นภาษาที่เขียนตามลักษณะการทำงานของเครื่อง ดังนั้น ผู้ที่ใช้ภาษาเหล่านี้จำเป็ นต้องเข้าใจการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดีภาษาเหล่านี้ ซึ่งจะมีคำสั่งคล้ายกับ ภาษาเครื่องเป็นอย่างมาก ได้แก่  ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)โดยมีแอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลี คือเปลี่ยนภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง
    3. ภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ง่าย มีลักษณะของการใช้ คำสั่งเป็ นภาษาอังกฤษซึ่งใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องมีการแปล ความหมายของคำสั่งโดยใช้ตัวแปลภาษาทีละชุดคำสั่งที่เรียกว่า อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) หรือแปลครั้ง เดียวทั้งโปรแกรมที่เรียกว่า คอมไพเลอร์(Compile)ได้แก่ ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาฟอร์เทรน (FORTRAN) ภาษาซี (C) เป็นต้น
                4. ภาษาระดับสูงมาก (Very High-Level Language) เป็นภาษาที่มีลักษณะสำคัญคือผู้เขียนโปรแกรม ไม่ต้องบอกวิธีการทำงานโดยละเอียดเพียงแต่ระบุคำสั่งให้ทำงานสั้นๆให้ภาษาระดับสูงมากเข้าใจก็เพียงพอ
                5. ภาษาธรรมชาติ (Nature Language) จะเกี่ยวข้องกับระบบฐานความรู้ และกฎอ้างอิง เพียงแต่ผู้ใช้ ภาษาธรรมชาติป้อนคำถามผ่านเข้าไปในคอมพิวเตอร์ที่มีภาษาธรรมชาติก็จะทำการวิเคราะห์คำถามแล้วไป ค้นหาคำตอบจากระบบฐานความรู้ที่เก็บไว้ 



                                                                  ที่มา https://sites.google.com/a/mns.ac.th/kru-nantawan/home

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น