คำสงวนในภาษา C
คำสงวนคือคำที่กำหนดขึ้นในภาษาซีเพื่อให้มีความหมายอย่างใด อย่างหนึ่ง และนำไปใช้งานแตกต่างกัน การประกาศค่าตัวแปรจะต้องไม่ให้ซ้ำกับคำสงวน
Auto | Break | Case | Char | Const |
Default | Do | Double | Else | Enum |
Short | Signed | Sizeof | Extern | Float |
For | Goto | If | Int | Long |
Return | Register | Continue | While | Static |
Struct | Switch | Typedef | Unon | Unsigned |
Void | volatile |
ฟังก์ชั่น (Function)
ฟังก์ชัน clrscr(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการลบจอภาพ |
ฟังก์ชัน printf(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลที่อยู่ในตัวแปร ค่าคงที่ และนิพจน์ออกจอภาพ | |
ตัวอย่างที่ 1 | printf(“Lampang”); ความหมาย แสดงข้อความ Lampang ออกทางจอภาพ |
ตัวอย่างที่ 2 | printf(“%d”,num); ความหมาย แสดงค่าตัวแปร num ในรูปเลขจำนวนเต็ม |
ตัวอย่างที่ 3 | printf(“5.2f”,area); ความหมาย แสดงค่าที่เก็บอยู่ในตัวแปร area โดยจองพื้นที่ไว้ 5 ช่อง ทศนิยม 2 ตำแหน่ง |
ฟังก์ชัน scanf(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร | |
ตัวอย่าง | scanf(“%d”,&num); ความหมาย รับค่าตัวเลขจำนวนเต็มแล้วนำมาเก็บไว้ในตัวแปร num |
ฟังก์ชัน getch(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรอรับการกดแป้นพิมพ์หนึ่งครั้ง โดยไม่ต้องกดปุ่ม Enter และตัวอักษรที่ป้อนเข้ามาจะไม่ปรากฏบนจอภาพ |
ฟังก์ชัน getchar(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลเข้ามาทางแป้นพิมพ์ทีละ 1 ตัวอักษร แล้วกด Enter 1 ครั้ง ข้อมูลที่ป้อนจะแสดงบนจอภาพ |
ฟังก์ชัน gets(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลที่เป็นข้อความจากแป้นพิมพ์เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปรแบบอาเรย์ การใช้ฟังก์ชัน gets(); จะต้องมีการประกาศตัวแปรแบบอาเรย์ และกำหนดจำนวนตัวอักษรที่ต้องการป้อน โดยคอมพิวเตอร์จะจองพื้นที่ไว้ตามจำนวนตัวอักษร แต่จะป้อนได้น้อยกว่าที่จองไว้ 1 ตัว เพื่อให้ตัวแปรเก็บ 0 อีก 1 ตัว |
ฟังก์ชัน textcolor(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการกำหนดสีตัวอักษร โดยจะต้องใช้ร่วมกับฟังก์ชัน cprintf ซึ่งมีสีต่างๆ ให้เลือก ตัวเลขค่าสีอาจจะพิมพ์เป็นตัวเลขหรือชื่อสีเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ก็ได้ | ||
ตัวอย่างที่ 1 | textcolor(4); cprintf(“Lampang”); | ความหมาย แสดงข้อความ Lampang เป็นสีแดง |
ตัวอย่างที่ 2 | textcolor(MAGENTA); cprintf(“BANGKOK”); | ความหมาย แสดงข้อความ BANGKOK เป็นสีม่วง |
ตัวเลขค่าสี | สีที่ปรากฏ |
0 | (BLACK) ดำ |
1 | (BLUE) น้ำเงิน |
2 | (GREEN) เขียว |
3 | (CYAN) ฟ้า |
4 | (RED) แดง |
5 | (MAGENTA) ม่วง |
6 | (BROWN) น้ำตาล |
7 | (LIGHTGRAY) เทาสว่าง |
8 | (DARKGRAY) เทาดำ |
9 | (LIGHTBLUE) น้ำเงินสว่าง |
10 | (LIGHTGREEN) เขียวสว่าง |
11 | (LIGHTCYAN) ฟ้าสว่าง |
12 | (LIGHTRED) แดงสว่าง |
13 | (LIGHTMAGENTA) ม่วงสว่าง |
14 | (YELLOW) เหลือง |
15 | (WHITE) ขาว |
ฟังก์ชัน cprintf(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการพิมพ์ข้อความเหมือนฟังก์ชัน printf แต่จะแสดงเป็นสีต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในฟังก์ชัน textcolor การใช้ฟังก์ชัน cprintf ต้องกำหนดสีของตัวอักษรใน ฟังก์ชัน textcolor ก่อน | |
ตัวอย่างที่ 1 | textcolor(5); printf(“Lampang”); ความหมาย แสดงข้อความ Lampang ออกทางจอภาพ |
ตัวอย่างที่ 2 | textcolor(15); printf(“%d”,num); ความหมาย แสดงค่าตัวแปร num ในรูปเลขจำนวนเต็ม |
ตัวอย่างที่ 3 | textcolor(7); printf(“5.2f”,area); ความหมาย แสดงค่าที่เก็บอยู่ในตัวแปร area โดยจองพื้นที่ไว้ 5 ช่อง ทศนิยม 2 ตำแหน่ง |
ฟังก์ชัน textbackground(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการกำหนดสีพื้นให้กับตัวอักษร | ||
ตัวอย่าง | textbackground(14) | ความหมาย กำหนดสีพื้นเป็นสีเหลือง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น